วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ผลิตภัณฑ์จากดีบุก

ผลิตภัณฑ์

ประวัติความเป็นมา

เริ่มดำเนินกิจการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ จากแนวคิดที่คนในครอบครัวมีความรู้เรื่องการสลักดุน จึงคิดประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดประโยชน์และเกิดรายได้ ระยะแรกมีเพียงผลิตภัณฑ์พวงกุญแจเท่านั้น ต่อมามีการพัฒนาฝีมือและเพิ่มลวดลายที่เป็นลายไทย รูปช้าง ศิลปะพื้นบ้าน ลงบนผลิตภัณฑ์ เช่น พวงกุญแจลายช้าง แจกัน แก้วเบียร์ จานโชว์ หัวเข็มขัด เป็นต้น

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ

มาตรฐานมผช.เลขที่ ๗๒/๒๕๔๖

ความสัมพันธ์กับชุมชน

แรงงานในการผลิตเป็นคนในหมู่บ้าน และให้โอกาสผู้ที่สนใจมาศึกษาดูงาน
กระบวนการผลิต
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
๒.๑.๑ แร่ดีบุก 
๒.๑.๒ โลหะ เรซิ่น 
๒.๑.๓ เทียน
๒.๑.๔ สี

ขั้นตอนการผลิต

๒.๒.๑ ออกแบบผลิตภัณฑ์
๒.๒.๒ หล่อต้นแบบด้วยเทียน โลหะ เรซิ่น
๒.๒.๓ หล่อแบบ
๒.๒.๔ กลึงผิวให้เรียบและสวยงาม
๒.๒.๕ ย้อมสี เคลือบผิว

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

ต้องกลึงผิวชิ้นงานให้เรียบที่สุดเพื่อความสวยงามและง่ายในการลงลาย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผลิตภัณฑ์จากดีบุก
ที่มา    http://www.otoptoday.com/

กะลามะพร้าวบ้านโป่งสวอง

ผลิตภัณฑ์

ประวัติความเป็นมา

มะพร้าวที่ปลูกไว้แทบทุกบ้าน มีเกินบริโภคในครัวเรือน บางครั้งไม่มีคนรับซื้อ หรือขายไม่ค่อยได้ราคา เลยนำกะลามาแปรรูปทำเป็นรูปสัตว์ตัวเล็ก ๆ แล้วพัฒนาเป็นรูปสัตว์ตัวใหญ่ๆ ตามแบบต่างๆ และเจาะรูเอาเนื้อออกเพื่อทำเป็นออมสินไว้ใช้และเอาแลคทาเพื่อความเงาสวยงามและอยู่ได้นานและนำไปขายเพื่อเพิ่มมูลค่าของกะลามะพร้าว ต่อมาก็พัฒนาทำรูปแบบต่างๆ ขึ้น เช่น โคมไฟ ออมสินรูปสัตว์ ฯลฯ

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

ความสัมพันธ์กับชุมชน

มะพร้าวที่มีอยู่ทั่วไปของแต่ละบ้านที่งอกแล้วขายไม่ได้หรือที่ไม่มีน้ำ ไม่มีเนื้อ ก็จะไปรับซื้อมา เพื่อเอามาทำเป็นกะลาออมสิน ส่วนคนที่ว่างจากการทำไร่ ชาวบ้านที่ไม่มีงานทำ หรือบางคนว่างงาน ก็จะมารับจ้างช่วยปลอกมะพร้าว มารับจ้างเอาเนื้ออก มาช่วยขัดช่วยทำ ก็จะมีรายได้เสริม บางคนส่งลูกหลานไปโรงเรียนเสร็จก็จะมาทำช่วยทำให้คนสูงอายุมีรายได้เพิ่มเป็นค่ากับข้าวแต่ละวันได้

กระบวนการผลิต

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. เครื่องตัดจิ๊กซอ
2. เครื่องขัดละเอียด
3. เครื่องขัดหยาบ
4. เลื่อยวงเดือน
5. มะพร้าว (วัตถุดิบสำคัญ)
6. ลูกตาลสีดำที่เอาเนื้อทำขนมแล้ว
7. กาวร้อนอย่างดี
8. ขี้เลื่อย
9. เม็ดมะค่า
10. กระดาษทรายด้วย
11. ของตกแต่งทั่วไป ลูกตาแบบต่างๆ

ขั้นตอนการผลิต

1. นำมะพร้าวมาปลอกเปลือก แล้วใช้เครื่องเจาะเพื่อเอาน้ำออกให้หมดเกลี้ยง
2. เอามะพร้าวที่เอาน้ำและเนื้อออกหมดมาขัดด้วยเครื่องขัดหยาบและเครื่องขัดละเอียด
3. ขัดเสร็จแล้วก็นำมาประกอบเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ตามแบบที่เราจะทำโดยเราเอากะลามาทำเป็นใบหู หาง เขา ฯลฯ (โดยใช้เครื่องจิ๊กซอตัดเป็นส่วนประกอบ)

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

เทคนิคคือ เราทำเสร็จก็ทาแลคเกอร์เคลือบเงา เพื่อความสวยงาม และอยู่ได้นาน ก็จะทำประมาณ 2-3 รอบ ส่วนเคล็ดลับคือ ช่วงต่อใช้ขี้เลื่อยที่เป็นผงจากการเลื่อยไม้หรือผงละเอียดจากการขัดกะลาเอามาร่อนแล้วใช้เป็นตัวประสานในการเชื่อมต่อเพื่อให้ตัวสินค้าติดกันแน่นและเป็นเนื้อเดียวกัน คงทนโดยใช้กาวร้อนอย่างดีและจะเช็ดทำความสะอาดทุกตัวโดยสำรวจว่าไม่มีส่วนไหนชำรุดหรือทาแลคเกอร์ไม่สวย รอจนแห้งสนิท ถ้าเช็คดูว่าครบทุกส่วนแล้วก็จะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อทีละตัวเบื่อนำไปขายหรือส่งให้กับลูกค้าที่สั่งทำไว้
ที่มา  http://www.otoptoday.com/

เครื่องเบญจรงค์

ผลิตภัณฑ์

ประวัติความเป็นมา

เครื่องเบญจรงค์มีปรากฎตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์มีการออกแบบและใช้สีที่เป็นที่นิยมของผู้คนสมัยนั้น ซึ่งมีใช้แต่ในราชสำนักเท่านั้น แต่ต่อมาเสนาบดี คหบดี ได้นำมาใช้กันจนเป็นที่แพร่หลายสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยได้รับการถ่ายทอดวิชาการทำเครื่องเบญจรงค์จากบรรพบุรุษของครอบครัวที่ จังหวัดสุพรรณบุรี ซี่งก็ได้นำมาฝึกฝนทำมาจนถึงปัจจุบันและได้คิดค้นลายเบญจรงค์ใหม่ๆทันสมัยเป็นที่นิยมของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

 มีเอกลักษณ์ที่เป็นศิลปะไทย ประเพณี การละเล่นของไทย

กระบวนการผลิต

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

- วัตถุดิบเครื่องปั้นดินเผาภาชนะต่างๆ จากสมุทรสาครและกทม.
- สีที่ใช้ลงเครื่องปั้นดินเผา
- เตาเผาความร้อน

ขั้นตอนการผลิต

1. นำเครื่องปั้นดินเผารูปภาชนะต่างๆ มาเขียนลายที่ต้องการ
2. ลงสีบนภาชนะที่เขียนลายไว้แล้ว
3. เสร็จจาก 1,2 นำภาชนะไปวนน้ำทอง
4. นำภาชนะเข้าเตาเผา ใช้ความร้อน 820 องศา ใช้เวลา 5 ชั่วโมง
5. นำภาชนะออกจากเตาเผาทิ้งไว้ให้เย็น นำออกจำหน่าย

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

ใช้ความประณีต ใช้หัวใจในการเขียนลายที่เป็นจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ออกมาสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด
ที่มา  http://www.otoptoday.com/

กาแฟกระบี่

ความสัมพันธ์กับชุมชน

ใช้ทุนชุมชน มาจากการระดมหุ้นจากสมาชิก จำนวน ๑๓๔ คน เป็นเงินทั้งสิ้น๑,๑๙๒,๕๐๐ บาท
บริหารงานโดยคณะกรรมการซึ่งมาจากการเลือกของสมาชิก ใช้วัตถุดิบ คือเมล็ดกาแฟดิบที่ผลิตในพื้นที่ ใช้แรงงานในพื้นที่ (แรงงานมาจากคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่ม)

กระบวนการผลิต วัตถุดิบและ ส่วนประกอบ

๑. เม็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้า 
๒. ครีมเทียมชนิดผง 
๓. น้ำตาลทราย

ขั้นตอนการผลิต

๑. การเตรียมวัตถุดิบ
- เริ่มต้นจากการคัดเลือกเมล็ดกาแฟ โดยการเทลงในภาชนะบรรจุน้ำ คัดเมล็ดกาแฟที่ลอยน้ำทิ้ง 
เนื่องจากเป็นผลที่สุกเกินไป ผลแห้งหรือผลที่ถูกแมลงทำลาย จากนั้นนำผลกาแฟที่จมน้ำไปตาก
บนลานซีเมนต์หรือในถาด การตากนั้นไม่ควรให้ความหนาของชั้นกาแฟมีความหนาเกิน ๓ 
เซนติเมตร และกลับเป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันการหมักและสีของเมล็ดกาแฟไม่สม่ำเสมอ

- การกะเทาะเปลือก (Hulling) ผลกาแฟที่แห้งจะถูกกะเทาะเปลือกเพื่อเอาส่วนที่เรียกว่า Pericarb
ออกโดยการใช้เครื่องกะเทาะเปลือก ซึ่งเครื่องกะเทาะเปลือกจะใช้สกรูเป็นองค์ประกอบหลักใน การทำให้เปลือกส่วน Pericarb หลุดออก
๒. การทำความสะอาด เริ่มจากการนำเมล็ดกาแฟที่ได้กะเทาะเปลือกแล้วไปทำความสะอาดโดยการใช้ลมเป่า จากนั้นจึงนำไปร่อนตะแกรงเพื่อกำจัดสิ่งที่ปะปนมา เช่น เปลือกกาแฟ เศษหิน กิ่งไม้ เศษกระสอบ และอื่น ๆ ที่ติดปนมากับเมล็ดกาแฟ
๓. การคัดเลือก กาแฟจะถูกคัดเกรดตามขนาด รูปร่าง กลิ่น ความหนาแน่นและสี
๔. การคั่ว การคั่วเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการผลิตกาแฟ โดยกลิ่นรสสุดท้ายของกาแฟจะขึ้นกับวิธีการและสภาวะที่ใช้คั่ว โดยอุณหภูมิที่ใช้คั่วกาแฟอยู่ที่ประมาณ ๒๐๐ องศาเซลเซียส
๕ การบด (Grinding) การบดเมล็ดกาแฟให้เป็นผงโดยใช้เครื่องจักร ควรเลือกสถานที่ที่ยกออกมาจากการผลิตทั่วไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก เนื่องจากในกระบวนการบดกาแฟจะเกิดฝุ่นละออง
มาก ขณะทำการบด
๖. การสกัด หลังจากบดกาแฟเรียบร้อยแล้ว กาแฟจะถูกผ่านเข้าสู่ภาชนะที่ควบคุมอุณหภูมิรูปทรงกลมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสารละลายกาแฟมีความเข้มข้นประมาณ ๑๕-๑๕ % 
๗. การระเหยน้ำ เป็นการสกัดความชื้นของเมล็ดกาแฟ โดยการปรับอุณหภูมิของตัวเครื่อง เพื่อให้ ความร้อนระเยออกมาเป็นไอ สกัดความชื้นให้เมล็ดกาแฟแห้ง 
๘. การทำให้แห้ง จากนั้นนำสารละลายเข้มข้นมาทำให้แห้งโดยใช้เครื่องทำแห้งแบบพ่นฝอย กาแฟโรบัสต้า จะใช้วิธีการทำแห้งแบบพ่นฝอย หลังจากกระบวนการนี้แล้วจึงได้ Instant Coffee
๙. การผสม หลังจากการทำแห้งเรียบร้อยแล้ว นำ Instant Coffee มาผสมกับวัตถุดิบ คือครีมเทียมชนิดผง และน้ำตาลทราย มาผสมตามอัตราส่วนที่กำหนด โดยผสมในเครื่องผสม ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ และสังเกตว่าเข้ากันดีหรือไม่
๑๐. การบรรจุ หลังจากการผสม นำวัตถุดิบที่ผสมไว้เรียบร้อยแล้วมาเข้าเครื่องบรรจุแบบอัตโนมัติ 
โดยต้องตรวจเช็คปริมาณน้ำหนักและรสชาติให้ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้ เมื่อได้กาแฟผงสำเร็จรูป
ชนิดผงก็จะนำเข้าสู่กระบวนการบรรจุภัณฑ์ โดยใช้เครื่องมือในการบรรจุภัณฑ์ หลังจากนั้นก็จะ
ทำการลงหีบห่อ
ที่มา   http://www.otoptoday.com/

ผ้าคลุมผมสตรีมุสลิม

ผลิตภัณฑ์

ประวัติความเป็นมา

เย็บปักและตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นชื่อกลุ่มผู้ผลิตชุมชนที่ออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายและผ้าคลุมผมที่นำเอาความสวยงามของวัตถุดิบต่างๆ มาพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์มีความสวยงามโดย นางชะบา ไกรบุตร ได้ริเริ่มก่อตั้งกลุ่มโดยเริ่มแรกมีผู้เข้าร่วมจำนวน 14 คน ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2541 โดยเป็นการรวมตัวของสตรีและ อ.ส.ม. ในหมู่ 7 ต.เหนือคลอง อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ ในปี พ.ศ. 2549 ทางกลุ่มได้รับเงินงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลเหนือคลองจำนวน 35,000 บาท เพื่อจัดซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2551 เครื่องมือที่ใช้ไม่พอเพียงกับความต้องการของการผลิต จึงขอรับการอนุเคราะห์จากองค์การบริหารส่วนตำบลเหนือคลองอีก 75,000 บาทเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตของกลุ่มให้ดียิ่งขึ้น ด้วยแรงผลักดันของนางชะบา ไกรบุตร ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่ต้องการสร้างงานในชุมชนเพื่อการหารายได้เสริมให้กับสมาชิกในชุมชนตลอดจนให้มีความรักสามัคคีเกิดขึ้นในชุมชน ที่สำคัญกลุ่มสมาชิกส่วนใหญ่เกิดความชื่นชอบและมองเห็นความสวยงามของเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ได้รับการตกแต่งและสามารถก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มตลอดจนรายได้เข้าสู่ชุมชน
ที่มา  http://www.otoptoday.com/

กลุ่มตัดเย็บเครื่องแต่งกาย เสื้อยืดสำเร็จรูปปักเลื่อมลูกปัด

ผลิตภัณฑ์

ประวัติความเป็นมา

กลุ่มตัดเย็บเครื่องแต่งกาย เสื้อยืดสำเร็จรูปปักเลื่อมลูกปัด ตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ ๕ หมู่ ๙ ตำบลสระสี่มุม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ก่อตั้งขึ้นโดยนางอุบล สระทองอยู่ เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดในการตัดเย็บเสื้อผ้า ได้ดำเนินการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยเริ่มจากการตัดเย็บเสื้อยืดเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ภายในหมู่บ้าน จัดส่งขายตามตลาดทั่ว ๆ ไป จากนั้นก็เริ่มมีการผลิตเป็นสินค้าส่งออกกระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต พัทยา ฯลฯ จนเป็นที่นิยมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เนื่องจากเสื้อยืดมีลักษณะที่โดดเด่น คือ มีการพิมพ์ลายไทยลงบนผ้า และมีการปักเลื่อมด้วยลูกปัด ซึ่งจัดเป็นงานฝีมือของชาวบ้าน ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้กิจการของกลุ่มค่อย ๆ ขยายขึ้นเรื่อย ๆ และเริ่มมีการกระจายงานให้ชาวบ้านที่อยู่ตามหมู่บ้านอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน
ปัจจุบัน กลุ่มตัดเย็บเครื่องแต่งกาย เสื้อยืดสำเร็จรูปปักเลื่อมลูกปัด ได้มีการขยายตลาดการค้าทั้งในประเทศ และเป็นสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยทางกลุ่มมีลายพิมพ์แบบต่าง ๆ ที่ใช้ในการพิมพ์ประมาณ ๑,๔๐๐ แบบ และมีการพัฒนาลายพิมพ์แบบต่าง ๆ ออกมาสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของแฟชั่น

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

ความสัมพันธ์กับชุมชน

งานฝีมือ และแรงงาน คือคนในชุมชนอย่างแท้จริง ทำให้คนในชุมชนมีรายได้หลัก และรายได้เสริมจากการประกอบอาชีพ รวมถึงทำให้คนในชุมชนมีความสามัคคี และความร่วมมือกันในการทำงาน มีความรัก ความผูกพันกันเหมือนญาติพี่น้อง
ที่มา  http://www.otoptoday.com/

กระติบข้าวทรีอินวันบ้านท่างาม

ประวัติความเป็นมา

ณ ดินแดนพื้นที่ราบสูงของประเทศที่มีผู้คนอาศัยส่วนใหญ่เป็นชาวอีสาน ทานข้าวเหนียวและมี กล่องข้าวเหนียวเป็นภาชนะไว้ใส่ข้าวเหนียวมาเนิ่นนาน ถือว่าเป็นวิถีชีวิตของคนอีสานที่ต้องห่อข้าวเหนียว เก็บไว้ทาน ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือห่อข้าวไปทำงาน การทำกล่องข้าวหรือกระติบข้าวมีมานาน ส่วนใหญ่เป็นการ ทำจสานจากไม้ไผ่ ฯลฯ ซึ่งกระติบข้าวที่ทำมาจากไม้ไผ่จะเกิดเชื้อราได้ง่าย แต่คล้ามีความทนทาน และเมื่อถูกความชื้นจะไม่เป็นเชื้อราดำ เก็บความร้อนได้นานกว่า 
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตกรรมบ้านท่างาม จัดตั้งเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2546 มีสมาชิกเริ่มแรกจำนวน 15 คน ปัจจุบันมีสมาชิก 56 คน ประธานกลุ่มคนแรกคือ นางศิริพร สายยางหล่อ และประธาน กลุ่มคนปัจจุบัน คือ นางประณีต หนูท้าว ตั้งอยู่เลขที่ 56 ม.9 ต.ทรายทอง อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู โดยที่กระติบข้าวทรีอินวันเริ่มจากจักสานที่เปลี่ยนจากการใช้ไม้ไผ่มาเป็นคล้าเนื่องจาก ไม้ไผ่เกิดเชื้อราง่าย แต่คล้ามีความทนทาน และเมื่อถูกความชื้นจะเป็นเชื้อราดำ เก็บความร้อนได้นานกว่า และกระติบข้าวทรีอินวันจะเกิดจากวิถีชีวิตการทานข้าวเหนียวและเป็นการยุ่งยากในการจะนึ่งข้าวเหนียวสำหรับคนที่อยู่ในเมือง ซึ่งคนไทยภาคอีสานได้มีการกระจายอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ รวมถึงต่างประเทศด้วย แต่วัฒนธรรมการกินยังไม่ลืมข้าวเหนียว จึงได้เกิดการพัฒนากระติบข้าวที่เป็นเพียงอุปกรณ์ที่ใช้บรรจุข้าวเหนียว ให้เป็นอุปกรณ์สารพัดประโยชน์ ใช้นึ่งข้าวใช้คนข้าว(ส่ายข้าวในภาษาอีสาน)และบรรจุข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว ในใบเดียว ซึ่งสามารถนึ่งได้ในหม้อหุงข้าวไฟฟ้าในบ้าน ที่ทั้งง่ายสะดวกสบาย และสร้างงานสร้างรายได้ให้คนในชุมชนได้ตลอดปี
และในปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่ของภาคอีสานได้เดินทางออกไปทำงานต่างจังหวัดและต่างประเทศจำนวนมาก แต่วัฒนธรรมการกินยังไม่ลืมข้าวเหนียว และอีกประการหนึ่งคือข้าวเหนียวเป็นที่นิยมในหมู่คนทั่วไปนำมาทานกับส้มตำไก่ย่าง อีกทั้งในกระบวนการนึ่งข้าวสำหรับคนที่ต้องไปใช้ชีวิตในห้องเช่าเป็นเรื่อง ที่ยุ่งยาก ในเรื่องของวิธีการและในเรื่องของอุปกรณ์การนึ่งที่ยุ่งยากในการนึ่งและเก็บรักษาอุปกรณ์
ต่าง ๆ และวัตถุดิบต้นคล้าในหมู่บ้านมีจำนวนมาก คนในหมู่บ้านเริ่มเห็นคุณค่าและความสำคัญของการสานกระติบข้าวคล้า ได้หันเข้ามาให้การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาอาชีพ การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เพื่อสร้างความแข้งแข็งแก่หมู่บ้านและชุมชนให้มีความพออยู่พอกินทุกครอบครัว
ในปี 2555 คณะกรรมการเครือข่าย KBO จังหวัด ซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภูเป็นเลขาคณะทำงาน ได้มองถึงการพัฒนากระติบข้าวที่เป็นเพียงอุปกรณ์ที่บรรจุข้าวเหนียว ให้เป็นอุปกรณ์สารพัดประโยชน์ ใช้นึ่งข้าว ใช้คนข้าว(ส่ายข้าว ในภาษาอีสาน)และบรรจุข้าวเหนียวที่สุกแล้ว ในใบเดียว ที่ใครๆก็สามารถนึ่งทานได้เอง โดยใช้นึ่งกับหม้อหุงข้าวไฟฟ้าในบ้านได้เลย ซึ่งได้มีการสืบค้นข้อมูล และเอกสารการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระติบข้าวเหนียวที่เกี่ยวข้อง จนเกิดความมั่นใจและลงมือทดลองและพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระติบข้าว

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

ความสัมพันธ์กับชุมชน

ฝีมือ แรงงาน คือ คนในชุมชนอย่างแท้จริง ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้คนในชุมชน
มีความผูกพันกันเหมือนญาติพี่น้อง มีการรวมกลุ่มสมาชิกในหมู่บ้าน ตำบล ร่วมกันนำเอาวัตถุดิบ
ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นนั้น รวมทั้งยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแก่คนในชุมชน 
รู้จักรักและหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น อีกทั้งส่งเสริมรายได้ให้แก่ชุมชน หมู่บ้าน 
มีอาชีพมั่นคง ครอบครัวอบอุ่น โดยไม่ต้องเดินทางเข้ามาทำงานในเมืองหลวง 
การร่วมแรงร่วมใจกันของชาวบ้าน
ที่มา  http://www.otoptoday.com/

วัฒนธรรมไทยภาคใต้ Southern Thai tradition.

วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นภาคใต้

1. ประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่า หรือ ประเพณีลากพระ ช่วงเวลา วันลากพระ จะทำกันในวันออกพรรษา คือวันแรม ค่ำ เดือน 11 โดยตกลงนัดหมายลากพระไปยังจุดศูนย์รวม วันรุ่งขึ้น แรม ค่ำ เดือน 11 จึงลากพระกลับวัด

ประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่า หรือ ประเพณีลากพระ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ความสำคัญ

ประเพณีชักพระหรือลากพระนั้นเป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวใต้ ที่ได้มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยศรีวิชัย โดยสันนิษฐานว่าได้เกิดมีขึ้นครั้งแรกในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นประเพณีความเชื่อของพราหมณ์ศาสนิกชนและพุทธศาสนิกชน มีพุทธตำนานเล่าขานสืบทอดกันมาว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงได้ทรงกระทำยมกปาฏิหารย์ปราบเดียรถีย์ ณ ป่ามะม่วง กรุงสาวัตถี และได้เสด็จไปทรงจำพรรษา ณ ดาวดึงส์ เพื่อทรงโปรดพระพุทธมารดา จนพระพุทธมารดาได้ทรงสิ้นพระชนม์ลง จึงทรงได้เสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ เมื่อพระอินทร์ทรงทราบจึงได้นิมิตบันไดนาค บันไดแก้วและบันไดเงินทอดลงมาจากสรวงสวรรค์ เมื่อพุทธศาสนิกชนได้ทราบจึงพร้อมใจกันมาเฝ้ารับเสด็จที่หน้าประตูนครสังกัสสะ ในตอนเช้าของวันแรม ค่ำ เดือน 11 พร้อมกับได้จัดเตรียมภัตตาหารเพื่อถวายแด่พระพุทธองค์
ที่มา   http://0057.blogspot.com/

วัฒนธรรมภาคเหนือ Heritage North.

วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นภาคเหนือ

ตุง...ศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ
ตุง เป็นภาษาถิ่นประจำภาคเหนือซึ่งตรงกับคำว่า ธง ในภาษาไทยภาคกลางและตรงกับคำว่า ธุง ในภาษาท้องถิ่นอีสาน มีลักษณะเป็นแผ่นวัตถุ ส่วนปลายแขวนติดกับเสาห้อยเป็นแผ่นยาวลงมา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า ธง ไว้ว่า “ ธง น. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทำด้วยกระดาษหรือ สิ่งอื่น ๆ ก็มีสำหรับใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ เครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เครื่องหมายเดินทะเล อาณัติสัญญาณ ตกแต่ง สถานที่ในงานรื่นเริงหรือกระบวนแห่ …” การใช้ตุงทางภาคเหนือ ได้ปรากฏหลักฐานในตำนานพระธาตุดอยตุง ซึ่งกล่าวถึง การสร้าง พระธาตุไว้ว่า เมื่อพระมหากัสสปะเถระได้นำเอาพระบรมสารีลิกธาตุพระรากขวัญเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า มาถวายแด่พระยา อชุตราชกษัตริย์แห่งราชวงศ์สิงหนวัติพระองค์ได้ทรงขอที่ดินของพญาลาวจก (ราชวงศ์ลวจังคราช) ในหมู่เขาสามเส้าเป็นที่ก่อ ร้างพระมหาสถูปนั้น ทำให้ทำตุงตะขาบยาวถึงพันวา ปักไว้บนยอดดอยปู่เจ้า ถ้าหางตุงปลิวไปเพียงใดกำหนดให้เป็นรากฐานสถูป



 
ที่มา   http://0057.blogspot.com/

วัฒนธรรมภาคอีสาน Isan culture

วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นภาคอีสาน


ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณี แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นแต่ละจังหวัด ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความเชื่อ ค่านิยม ศาสนาและรูปแบบการดำเนินชีวิตตลอดจนอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆได้เป็นอย่างดี สาเหตุที่ภาคอีสานมีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมประเพณีส่วนหนึ่งอาจจะเป็นผลมาจาก การเป็นศูนย์รวมของประชากรหลากหลายเชื้อชาติ และมีการติดต่อสังสรรค์กับประชาชนในประเทศใกล้เคียง จนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมขึ้น เช่น ประชาชนชาวอีสานแถบจังหวัดเลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศลาว ประชาชนของทั้งสองประเทศมีการเดินทางไปมาหากัน ทำให้เกิดการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและประเพณีระหว่างกัน ซึ่งเราจะพบว่าชาวไทยอีสานและชาวลาวแถบลุ่มแม่น้ำโขงมีศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่คล้ายๆกัน และรูปแบบการดำเนินชีวิตก็มีความคล้ายคลึงกันด้วย รวมทั้งชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาในช่วงสงครามเวียดนาม ก็ได้นำเอาศิลปวัฒนธรรมของเวียดนามเข้ามาด้วย ถึงแม้ปัจจุบันชาวเวียดนามเหล่านี้จะได้ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมของท้องถิ่นอีสาน (เพื่อให้การดำรงชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่น) โดยเฉพาะชาวเวียดนามที่เป็นวัยรุ่นในปัจจุบันได้รับการศึกษาที่ดีเหมือนกับชาวไทยทุกประการ จนแทบแยกไม่ออกว่าเป็นคนไทยอีสานหรือคนเวียดนามกันแน่ ส่วนใหญ่ก็จะเห่อวัฒนธรรมตะวันตก(เหมือนเด็กวัยรุ่นของไทย)จนลืมวัฒนธรรมอันดีงามของตัวเอง แต่ก็ยังมีชาวเวียดนามบางกลุ่มส่วนใหญ่เป็นคนสูงอายุยังคงยึดมั่นกับวัฒนธรรมของตนเองอยู่อย่างมั่นคง ท่านสามรถศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตแบบเวียดนามได้ตามชุมชนชาวเวียดนามในจังหวัดที่กล่าวมาแล้ว ส่วนประชาชนที่อยู่ทางจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา มีการติดต่อกันกับประชาชนชาวกัมพูชาก็จะรับเอาวัฒนธรรมของกัมพูชามาประยุกต์ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ววัฒนธรรมประเพณีของคนทั้งสองเชื้อชาติก็มีความคล้ายคลึงกันอยู่แล้ว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวัฒนธรรมต่างๆ ก็มีความแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่นและแตกต่างจากภูมิภาคอื่นๆของไทยอย่างเห็นได้ชัด ทั้งวัฒนธรรมทางด้านการดำรงชีวิตและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ซึ่งเราสามารถสังเกตรูปแบบวัฒนธรรมที่ดีงามของชาวอีสานผ่านทางประเพณีต่างๆที่ชาวอีสานจัดขึ้นซึ่งสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมอีสานได้เป็นอย่างดี
งานประเพณีบุญบั้งไฟ

ประเพณีบุญบั้งไฟ กำเนิดจากไหนนั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน แต่ก็ยังปรากฏ ประเพณีนี้ในภาคเหนือ (เรียกว่า ประเพณีจิบอกไฟ)ส่วนหลักฐานเอกสารในภาคอีสาน ปรากฏใน วรรณกรรมท้องถิ่นเรื่อง ผาแดง-นางไอ่ ซึ่งกล่าวถึงตำนานบุญบั้งไฟบ้าง ส่วนความเป็นมาและตำนานเกี่ยวกับบุญบั้งไฟมีหลายประการ ด้วยผู้รู้หลายท่านได้กล่าวไว้ เช่น สิริวัฒน์ คำวันสา ได้ให้ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับต้นเหตุความเป็นมาของประเพณีบุญบั้งไฟ ในแง่ต่างๆไว้ว่าด้านศาสนาพราหมณ์ มีการบูชาเทพเจ้าด้วยไฟเป็นเครื่องบูชาเทพเจ้าบนสวรรค์ การจุดบั้งไฟ เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งและเป็นการบูชาเพื่อให้พระองค์บันดาลในสิ่งที่ตนเองต้องการด้านศาสนาพุทธ เป็นการฉลองและบูชาเนื่องในวันวิสาขบูชามีการนำเอาดอกไม้ไฟแบบต่างๆ บั้งไฟ น้ำมัน ไฟธูปเทียนและดินประสิว มีการรักษาศีล ให้ทาน การบวชนาค การฮดสรง การนิมนต์พระเทศน์ ให้เกิดอานิสงส์ ด้านความเชื่อของชาวบ้าน ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลกมนุษย์ โลกเทวดา และโลกบาดาล มนุษย์ อยู่ภายใต้อิทธิพลของเทวดา การรำผีฟ้า เป็นตัวอย่างแห่งการแสดงความนับถือเทวดา เทวดา คือ "แถน" "พญาแถน" เมื่อถือว่ามีพญาแถนก็ถือว่ามีฝน ฟ้า ลม เป็นอิทธิพลของพญาแถน หากทำให้พญาแถน โปรดปรานหรือพอใจแถนก็จะบันดาลความสุข
ทื่มา  http://0057.blogspot.com/

วัฒนธรรมภาคกลาง Cultural Central.

วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นภาคกลาง

ภาคกลางเป็นภาคที่มีประชาการสูงสุด โดยรวมพื้นที่อันเป็นที่ตั้ง ของจังหวัดมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ใช้ภาษากลางในการสื่อความหมายซึ่งกันและกัน วัฒนธรรมไทยท้องถิ่นภาคกลาง ประชาชนประกอบอาชีพทำนา การตั้งถิ่นฐานจะหนาแน่นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีวิถีชีวิตเป็นแบบชาวนาไทย คือ การรักพวกพ้อง พึ่งพาอาศัยกัน มีความเชื่อ และเคารพบุคคลสำคัญผู้ล่วงลับไปแล้ว มีการใช้เครื่องปั้นดินเผาตามชุมชนและหมู่บ้านในชนบท การละเล่นพื้นบ้านที่เป็นลักษณะเด่น ได้แก่ มังคละรำเต้น เต้นกำรำเคียว เพลงปรบไก่ เพลงลำตัด เป็นต้น
นอกจากนี้ในท้องที่จังหวัดเพชรบุรี มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือมี ความสามารถในการปลูกสร้างเรือนไทย ความเป็นช่วงฝีมือที่ประณีตในการตกแต่งวัด และช่าง ประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น ช่างทอง ช่างแกะสลักลายไทย ลวดลายปูนปั้นประดับพระสถูปเจดีย์ชนกลุ่มน้อยในท้องถิ่นภาคกลาง มีหลายเผ่าพันธุ์ อาทิ ลาวโข่ง กระเหรี่ยง ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ลาวพวน ในอำเภอบ้านหมี จังหวัดลพบุรี คนลาว ในเขต จังหวัดเพชรบุรี ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา มอญ ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

ประเพณีการตักบาตรดอกไม้



ในวันเข้าพรรษา คือวันแรม ค่ำ เดือน ชาวบ้านวัดพระ พุทธบาท จังหวัดสระบุรี แถบนั้นมีคติเชื่อว่าการบูชา พระรัตนตรัยด้วยดอกไม้ธูปเทียน "อามิสบูชา" ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนานั้นย่อมได้รับผลอานิสงส์มากมาย ดังนั้นพอถึงวันเข้าพรรษา ชาวบ้านจะเก็บดอกไม้ป่าซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพืชประเภทที่มีกอหรือเหง้าฝังอยู่ใต้ดินเช่นต้นกระชายหรือต้นขมิ้น พืชได้รับความชุ่มชื่นจากฝนลำต้นก็แตกยอดโผล่ขึ้นมาจากดิน สูงประมาณคืบเศษ ๆ ดอกมีขนาดเล็ก ออกเป็นช่อตรงบริเวณส่วนยอดของลำต้น หลายสีสันงามตามได้แก่สีขาว สีเหลือง และสีเหลืองแซมม่วง ชาวบ้านเรียกชื่อต่างกันไปว่า "ดอกยูงทอง" บ้างหรือ "ดอกหงส์ทอง" บ้าง แต่ที่นิยมเรียกรวมกันก็ว่า "ดอกเข้าพรรษา" เพราะเห็นว่าดอกไม้ป่าเหล่านี้จะบานสะพรั่ง ให้เห็น อย่างดาษดื่นก็เฉพาะในเทศกาลเข้าพรรษานี่เอง


ซึ่งในประเพณีการตักบาตรดอกไม้นั้นจะมีพิธีตักบาตรดอกไม้วันละ รอบ คือ รอบเช้าเวลา 08.00 น. รอบบ่าย เวลา 15.00 น. ในวันแรกของการจัดงาน เป็นพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ในอาณาบริเวณพระพุทธบาท
ภาคค่ำขบวนพยุหยาตราสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ขบวนรถบุปผชาติ การแสดงศิลปะพื้นบ้าน วัฒนธรรม และขบวนต่างๆ จะเริ่มเคลื่อนออกจากหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลพระพุทธบาท ไปตามถนนพหลโยธินและเลี้ยวเข้าบริเวณวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร โดยจะมีพิธีเปิดงานพิธีตักบาตรดอกไม้ในภาคกลางคืนดอกไม้ที่ใช้ตักบาตรแด่พระภิกษุสงฆ์นั้นจะต้องเป็นดอกเข้าพรรษา” เท่านั้น
ซึ่ง ดอกเข้าพรรษา” นั้นเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่ง ต้นคล้าย ๆ ต้นกระชาย หรือ ขมิ้น สูงประมาณ คืบเศษ มีดอกสีเหลือง สีขาวและสีน้ำเงินม่วง ต้นดอกไม้เข้าพรรษานี้จะ ขึ้นตามไหล่เขาโพธิ์ลังกา หรือเขาสุวรรณบรรพต เทือกเขาวง และเขาพุใกล้ ๆ กับรอยพระพุทธบาท และจะผลิดอกเฉพาะช่วงเข้าพรรษาเท่านั้น จนชาวบ้านเรียกชื่อให้เป็นที่เหมาะสมว่า “ต้นเข้าพรรษา"
โดยดอกเข้าพรรษาที่ชาวพุทธออกไปเก็บนั้น มี สี คือ ดอกสีเหลือง มี 2พันธุ์ คือ พันธุ์เหลืองพวง (หางกระรอก) และพันธุ์เหลืองมะละกอ (บานปลาย) ดอกสีขาว ซึ่งทั้ง สีนั้นดูจะหาง่ายไม่ลำบากยากเย็นนัก แต่การเก็บดอกไม้เข้าพรรษาซึ่งเป็นสีม่วงนั้น เขาถือกันว่าถ้าผู้ใดออกไปเก็บดอกเข้าพรรษาสีม่วงมาใส่บาตรได้ คนนั้นจะได้รับบุญกุศลมากมายกว่าการนำดอกไม้สีอื่น ๆ มาตักบาตร

หลังจากที่พระภิกษุสงฆ์เดินรับบิณฑบาตจากพุทธศาสนิกชนแล้ว จะนำดอกไม้ไปสักการะ รอยพระพุทธบาท” พระเจดีย์จุฬามณี อันเป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระเขี้ยวแก้วจำลองขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนำไปสักการะพระเจดีย์มหาธาตุองค์ใหญ่ ซึ่งชาวพุทธถือว่าเป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
พระเจดีย์องค์นี้ ทรงเหมือนกับองค์พระธาตุพนม เป็นการคารวะต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และระหว่างที่พระภิกษุเดินลงจากพระมณฑปทางบันไดนาคเจ็ดเศียรนั้น พุทธศาสนิกชนก็จะนำเอาน้ำสะอาดมาล้างเท้าพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งถือว่าน้ำที่ได้ชำระล้างเท้าให้พระภิกษุสงฆ์นั้นเสมือนหนึ่งได้ชำระล้างบาปของตนด้วย
สำหรับ การจัดงานประเพณีตักบาตรดอกไม้ในวันที่สองของการจัดงาน จะมีพิธีตักบาตรดอกไม้ รอบคือ เวลา08.00 น. และ 15.00 น. ส่วนในวันสุดท้ายของการจัดงาน ซึ่งตรงกับวันเข้าพรรษา จะมีพิธีถวายเทียนพรรษาพระราชทาน และเทียนพรรษา ณ อุโบสถวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
ประเพณีตักบาตรดอกไม้และถวายเทียนพรรษา ประจำปี 2550 ยังมีกิจกรรมอื่นๆที่น่าสนใจ เช่น การจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์การประกวดเทพีตักบาตรดอกไม้ การจัดนิทรรศการตักบาตรดอกไม้ การประกวดจัดดอกไม้ใบตอง และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย
ประเพณีตักบาตรดอกไม้” นับเป็นประเพณีอันเก่าแก่ ที่ควรค่าแห่งการอนุรักษ์ยิ่งเพราะหนึ่งปีมีหนึ่งครั้ง และมีเพียงแห่งเดียวที่พระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร นอกจากชาวพุทธศาสนิกชน จะได้บุญกุศลอันยิ่งใหญ่ กับการถวายดอกเข้าพรรษาแด่พระภิกษุสงฆ์ แล้วยังตื่นตา ตื่นใจกับขบวนรถบุพชาติ ขบวนวัฒนธรรม และการแสดงศิลปะพื้นบ้านด้วย ที่ขาดเสียมิได้คือ ความงดงามของดอกเข้าพรรษา ที่บานสะพรั่ง ทั่วทั้งวัดพระพุทธบาทตลอดทั้ง 3วัน
ทื่มา http://0057.blogspot.com/

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สบู่ และวิธีการทำสบู่


สบู่ และวิธีการทำสบู่



สบู่ เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับทำความสะอาดร่างกายที่ได้จากปฏิกิริยาของด่างกับไขมันจากพืชหรือสัตว์ ปัจจุบัน สบมีการใช้ส่วนผสมชนิดต่างๆเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของสบู่ให้มีลักษณะพิเศษ ตรงตามความต้องการใช้งานที่หลากหลายขึ้น


สบู่” จากคำข้างต้น หมายถึง ผลิตภัณฑ์ของสบู่ที่ทำให้เป็นก้อนหรือเป็นของเหลว พร้อมด้วยส่วนผสมต่างๆ เพื่อให้มีคุณสมบัติเหมาะสำหรับการใช้ทำความสะอาด ซึ่งก็คือผลิตภัณฑ์สบู่ที่เราใช้กันในทุกวันนี้ ส่วน “สบู่ (soap)” อีกคำที่พบในสมการเคมีจะหมายถึง สารตั้งต้นสำหรับการผลิตสบู่ นั่นก็คือ เกล็ดสบู่ (soap) ที่ได้จากปฏิกิริยาระหว่างด่างเข้มข้นกับไขมันพืชหรือสัตว์ ร่วมด้วยกับกลีเซอรีน (Glycerine)/กลีเซอรอล (Glycerol) ซึ่งสารทั้งสองเป็นสารตั้งต้นในการทำสบู่เหมือนกัน แต่จะให้ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเรียกว่า “เกล็ดสบู่”
ไขมันพืช/ไขมันสัตว์ + โซเดียมไฮดรอกไซด์/โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ = เกล็ดสบู่ (soap) + กลีเซอรอล/กลีเซอรีน + แอลกอฮอล์ + น้ำ
ชนิดของสบู่
1. สบู่ก้อนขุ่น
เป็นผลิตภัณฑ์สบู่ที่รู้จัก และใช้กันมานานจนถึงปัจจุบัน มีลักษณะเป็นก้อนแข็งสีขาวขุ่นหรือมีสีต่างๆ ตามสีของสารเติมแต่ง เช่น สีเขียว สีชมพู สีม่วง เป็นต้น สบู่ชนิดนี้ใช้สารตั้งต้น คือ เกล็ดสบู่ (soap) ที่ผลิตได้จากปฏิกิริยาข้างต้นเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต ที่ให้คุณสมบัติเป็นก้อนแข็ง ขาวขุ่น ให้ฟองมาก
2. สบู่ก้อนใส
เป็นผลิตภัณฑ์สบู่ที่มีลักษณะก้อนใสหรือค่อนข้างใสตามสัดส่วนของกลีเซอรีนที่ผสม ก้อนสบู่จะมีลักษณะอ่อนกว่าสบู่ก้อนขุ่น และสามารถทำให้เกิดสีใสต่างๆตามสารให้สีที่เติมผสม สบู่ชนิดนี้จะให้ฟองค่อนข้างน้อยกว่าสบู่ก้อนขุ่น เนื่องจากมีส่วนผสมของกลีเซอรีนเป็นส่วนใหญ่ สารตั้งต้นที่ใช้อาจเป็นกลีเซอรีนเหลวหรือกลีเซอรีนก้อน (กลีเซอรีนเหลว+เอทิลแอลกอฮอล์) ร่วมด้วยกับสารเติมแต่งชนิดต่างๆ
3. สบู่เหลว
เป็นผลิตภัณฑ์สบู่ที่มีน้ำเป็นส่วนผสมทำให้เนื้อสบู่เหลว สีสีสันต่างๆตามสารเติมแต่ง สบู่ชนิดนี้ใช้สารตั้งต้นจากเกล็ดสบู่ (soap) ที่ได้จากปฏิกิริยาข้างต้นเหมือนชนิดสบู่ก้อนขุ่น แต่ต่างกันที่จะใช้ด่างเข้มข้นโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์แทนโซเดียมไฮดรอกไซด์ เพราะจะให้เนื้อสบู่อ่อนตัวดีกว่า
ลักษณะของสบู่ที่ดี
1. มีความสามารถทำความสะอาดได้ดี
2. มีฟองในระดับที่เหมาะสม
3. มีความเป็นด่างน้อยในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อผิวหรือทำลายชั้นไขมันของผิว
4. สบู่ก้อนไม่มีเนื้อเหลว แตกหักง่าย
5. ไม่มีกลิ่นหืน มีกลิ่นหอมน่าใช้ และมีคุณสมบัติเฉพาะในบางกรณี เช่น สบู่ฆ่าเชื้อ
สารเคมีที่ใช้ทำสบู่
1. ไขมัน/น้ำมัน เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตสารตั้งต้นสบู่ ไขมันหรือน้ำมันที่ใช้อาจได้จากพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันปาล์ม เป็นต้น ส่วนไขมันที่ได้จากสัตว์ เช่น ไขมันโค กระบือ แกะ แพะ เป็นต้น คุณภาพของน้ำมันที่ได้จากพืช และสัตว์จะมีผลต่อคุณภาพของสบู่ เกล็ดสบู่ (soap)ที่ได้จากน้ำมันพืชจะให้ลักษณะขาวเนียน และกลีเซอรีนจะค่อนข้างใสกว่าน้ำมันจากสัตว์ นอกจานั้น เกล็ดสบู่ (soap) ที่ได้จากน้ำมันจากพืชจะมีกลิ่นหืนน้อยกว่าน้ำมันจากสัตว์ อีกทั้งน้ำมันจากพืชยังเป็นวัตถุดิบที่หาง่าย และราคาถูกกว่า
2. ด่างเข้มข้น เป็นสารเคมีสำคัญที่ใช้ทำปฏิกิริยากับไขมันธรรมชาติ ด่างเข้มข้นที่นิยมใช้ คือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งจะได้เนื้อสบู่สีขาวทึบ เนื้อก้อนแข็ง ให้ฟองมาก นิยมนำมาทำสบู่ก้อนทึบ และอีกชนิดหนึ่ง คือ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งจะได้สบู่ในลักษณะเดียวกัน แต่เนื้อสบู่มีความอ่อนตัวได้ดีกว่า นิยมนำมาทำสบู่เหลว
3. สารเติมแต่ง เป็นสารเคมีสำหรับปรับปรุงคุณสมบัติของสบู่ เช่น สี น้ำหอม สมุนไพร สารป้องกันความชื้น สารลดความเป็นด่าง สารลดแรงตึงผิว สารทำให้ฟองคงตัว สารเพิ่มความแข็ง สารป้องกันการออกซิเดชัน สารบำรุงผิว สารฆ่าเชื้อ เป็นต้น เป็นสารเติมแต่งที่นิยมผสมในสบู่เพื่อให้มีคุณสมบัติเหมาะแก่การใช้ประโยชน์ในแต่ละอย่าง
วิธีการทำสบู่
การทำสบู่ในระดับอุตสาหกรรม และระดับครัวเรือน ในกรรมวิธีหลักๆจะไม่แตกต่างกันมาก แต่ในทางอุตสาหกรรมจะมีกระบวนการที่ละเอียด และซับซ้อนกว่า โดยในภาคอุตสาหกรรมอาจเตรียมสบู่สารตั้งต้นเองหรือสั่งซื้อจากอีกแหล่งที่ทำหน้าที่รับผลิต ทั้งที่เป็นเกล็ดสบู่ (soap) เพื่อผลิตสบู่ก้อนขุ่น หรือสบู่เหลว และกลีเซอรีน เพื่อผลิตสบู่ก้อนใส
1. การผลิตสบู่ในภาคอุตสาหกรรม
สำหรับภาคครัวเรือนสามารถผลิตได้ทั้งสบู่ก้อนขุ่น สบู่ก้อนใส และสบู่เหลว โดยนิยมสั่งซื้อเกล็ดสบู่ (soap) และกลีเซอรีน จากแหล่งจำหน่ายโดยไม่ต้องเตรียมเอง
ขั้นตอนการผลิตสบู่ภาคอุตสาหกรรม
– การฟอกสีน้ำมันวัตถุดิบเพื่อให้น้ำมันมีสีใส และไม่มีกลิ่นหืน
– การต้มสบู่ เพื่อให้ได้เกล็ดสบู่ และกลีเซอรีน ด้วยการเติมด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์
– ขั้นตอนการแยก โดยการแยกเกล็ดสบู่ และกลีเซอรีนออกจากกัน
– ขั้นตอนการฟิต เป็นการนำเอาเกล็ดสบู่เข้าหม้อฟิตเพื่อกำจัดเกลือที่ตกค้างในเกล็ดสบู่
– การระเหยน้ำ ด้วยการเป่าแห้งเกล็ดสบู่เหลวเพื่อกำจัดน้ำที่ผสมอยู่ และเพื่อให้เกล็ดสบู่แห้งจับตัวเป็นก้อน เรียกว่า สบู่ดิบ
– นำสบู่ดิบมาผสมกับส่วนผสมต่างๆ ภายใต้ความร้อนจนสารทั้งหมดละลายรวมตัวกัน และผ่านเข้าเครื่องอัดความหนาแน่นเพื่อให้สบู่เป็นก้อนที่คงตัว และสม่ำเสมอ
– เมื่อสบู่ที่ออกจากเครื่องอัดความหนาแน่นแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการรีดให้เป็นแท่งยาว และตัดด้วยเครื่อง
– ก้อนสบู่ที่ตัดเป็นก้อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการปั้มบนแม่พิมพ์ และตีตรา เข้าสู่ขั้นตอนการบรรจุในขั้นสุดท้าย
2. การผลิตสบู่สมุนไพรภาคครัวเรือน
2.1 สารตั้งต้น
การทำสบู่ในภาคครัวเรือนนิยมผลิตสบู่ก้อนขุ่น สบู่ก้อนใส และสบู่เหลว ซึ่งจะใช้สารตั้งต้นที่แตกต่างกัน โดยสามารถสั่งชื้อได้ตามอินเตอร์เน็ตหรือร้านขายส่งสารเคมีทั่วไป
– สบู่ก้อนขุ่น ใช้สารตั้งต้น คือ เกล็ดสบู่ (soap) ที่เกิดจากการใช้ด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์
– สบู่ก้อนใส ใช้สารตั้งต้น คือ กลีเซอรีนก้อน
– สบู่เหลว ใช้สารตั้งต้น คือ เกล็ดสบู่ (soap) ที่เกิดจากการใช้ด่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์
วิธีการเตรียมสารตั้งต้น
วัสดุ และสารเคมี:
– น้ำ 1 ลิตร
– โซเดียมไฮดรอกไซด์ 100 กรัม
– น้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันปาล์ม 3 ลิตร
วิธีการ:
– ละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ในหม้อที่ต้มน้ำ คนให้ละลายจนหมด และตั้งทิ้งไว้ให้อุ่น
– เทน้ำมันพืชลงในหม้อ กวนให้เข้ากัน และเทใส่แม่พิมพ์หรือภาชนะอื่น
– รินน้ำ และสารละลายใสที่เป็นกลีเซอรีนส่วนบนออก
– สบู่จะนอนก้นเป็นตะกอนขาวขุ่น ซึ่งต้องตั้งทิ้งไว้ให้เย็น จนเกล็ดสบู่ (soap) จับตัวเป็นก้อน สำหรับการทำสบู่ก้อนขุ่น
2.2 สมุนไพร
สมุนไพรที่ใช้เป็นส่วนผสมทำสบู่มีมากมายหลายชนิด ซึ่งอาจประยุกต์ใช้สมุนไพรชนิดอื่นนอกเหนือจากที่ยกตัวอย่าง
– มะขาม มะนาว มะกรูดให้วิตามินซี และกรด ช่วยขัดเซลล์ผิว และป้องกันเชื้อจุลินทรีย์
– เปลือกมังคุดให้วิตามินดี ลดรอยด่างดำ
– มะละกอ ให้วิตามินเอ ช่วยบำรุงผิวให้ขาว
– ว่านหางจระเข้ ให้วิตามินอีช่วยลดรอยจุดด่างดำ
– ขมิ้น ดาวเรือง ช่วยบำรุงผิว
การเตรียมสมุนไพร สามารถทำได้โดย
– การทำเป็นผง ด้วยการตากแห้ง และนำมาบดให้เป็นผงละเอียด และนำตากให้แห้งอีกครั้ง
– การสกัดเป็นสารละลาย ด้วยการบดสมุนไพรให้ละเอียด และนำมาต้มสกัดหรือนำมาแช่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ผสมกับน้ำ
สบู่สมุนไพรควรเติมผงสมุนไพรประมาณร้อยละ 1-5 ของน้ำหนักสบู่ และสมุนไพรที่ได้จากการต้มสกัด ควรเติมประมาณร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักสบู่
2.3 สารเติมแต่ง
– น้ำหอม เป็นสารเติมแต่งที่นิยมเติมในการทำสบู่ สามารถใช้ได้ทั้งน้ำหอมทั่วไปหรือน้ำหอมสำหรับสบู่
– ผงสี สารลดความกระด้าง สารรักษาความชื้น สารป้องกันการหืน ซึ่งสารเหล่านี้อาจไม่ใช้ก็ได้หากไม่สะดวกที่จะหาซื้อ
2.4 ขั้นตอนการทำสบู่
– นำเกล็ดเกล็ดสบู่ใส่หม้อภาชนะ ตั้งไฟอ่อนๆให้ละลายจนหมด
– เติมสมุนไพร หากเป็นผงประมาณไม่เกิน 50 กรัม หากเป็นน้ำสกัดไม่เกิน 100 ซีซี
– เติมสารเติมแต่ง เช่น น้ำหอม ผงสี และอื่นตามที่หาซื้อได้ พร้อมคนให้ละลายเข้ากัน
– เทสารละลายสบู่ในแม่พิมพ์ และรอจนแห้งตัวก็จะได้สบู่สำหรับใช้งาน
ที่มา  http://www.siamchemi.com/