วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กาแฟกระบี่

ความสัมพันธ์กับชุมชน

ใช้ทุนชุมชน มาจากการระดมหุ้นจากสมาชิก จำนวน ๑๓๔ คน เป็นเงินทั้งสิ้น๑,๑๙๒,๕๐๐ บาท
บริหารงานโดยคณะกรรมการซึ่งมาจากการเลือกของสมาชิก ใช้วัตถุดิบ คือเมล็ดกาแฟดิบที่ผลิตในพื้นที่ ใช้แรงงานในพื้นที่ (แรงงานมาจากคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่ม)

กระบวนการผลิต วัตถุดิบและ ส่วนประกอบ

๑. เม็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้า 
๒. ครีมเทียมชนิดผง 
๓. น้ำตาลทราย

ขั้นตอนการผลิต

๑. การเตรียมวัตถุดิบ
- เริ่มต้นจากการคัดเลือกเมล็ดกาแฟ โดยการเทลงในภาชนะบรรจุน้ำ คัดเมล็ดกาแฟที่ลอยน้ำทิ้ง 
เนื่องจากเป็นผลที่สุกเกินไป ผลแห้งหรือผลที่ถูกแมลงทำลาย จากนั้นนำผลกาแฟที่จมน้ำไปตาก
บนลานซีเมนต์หรือในถาด การตากนั้นไม่ควรให้ความหนาของชั้นกาแฟมีความหนาเกิน ๓ 
เซนติเมตร และกลับเป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันการหมักและสีของเมล็ดกาแฟไม่สม่ำเสมอ

- การกะเทาะเปลือก (Hulling) ผลกาแฟที่แห้งจะถูกกะเทาะเปลือกเพื่อเอาส่วนที่เรียกว่า Pericarb
ออกโดยการใช้เครื่องกะเทาะเปลือก ซึ่งเครื่องกะเทาะเปลือกจะใช้สกรูเป็นองค์ประกอบหลักใน การทำให้เปลือกส่วน Pericarb หลุดออก
๒. การทำความสะอาด เริ่มจากการนำเมล็ดกาแฟที่ได้กะเทาะเปลือกแล้วไปทำความสะอาดโดยการใช้ลมเป่า จากนั้นจึงนำไปร่อนตะแกรงเพื่อกำจัดสิ่งที่ปะปนมา เช่น เปลือกกาแฟ เศษหิน กิ่งไม้ เศษกระสอบ และอื่น ๆ ที่ติดปนมากับเมล็ดกาแฟ
๓. การคัดเลือก กาแฟจะถูกคัดเกรดตามขนาด รูปร่าง กลิ่น ความหนาแน่นและสี
๔. การคั่ว การคั่วเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการผลิตกาแฟ โดยกลิ่นรสสุดท้ายของกาแฟจะขึ้นกับวิธีการและสภาวะที่ใช้คั่ว โดยอุณหภูมิที่ใช้คั่วกาแฟอยู่ที่ประมาณ ๒๐๐ องศาเซลเซียส
๕ การบด (Grinding) การบดเมล็ดกาแฟให้เป็นผงโดยใช้เครื่องจักร ควรเลือกสถานที่ที่ยกออกมาจากการผลิตทั่วไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก เนื่องจากในกระบวนการบดกาแฟจะเกิดฝุ่นละออง
มาก ขณะทำการบด
๖. การสกัด หลังจากบดกาแฟเรียบร้อยแล้ว กาแฟจะถูกผ่านเข้าสู่ภาชนะที่ควบคุมอุณหภูมิรูปทรงกลมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสารละลายกาแฟมีความเข้มข้นประมาณ ๑๕-๑๕ % 
๗. การระเหยน้ำ เป็นการสกัดความชื้นของเมล็ดกาแฟ โดยการปรับอุณหภูมิของตัวเครื่อง เพื่อให้ ความร้อนระเยออกมาเป็นไอ สกัดความชื้นให้เมล็ดกาแฟแห้ง 
๘. การทำให้แห้ง จากนั้นนำสารละลายเข้มข้นมาทำให้แห้งโดยใช้เครื่องทำแห้งแบบพ่นฝอย กาแฟโรบัสต้า จะใช้วิธีการทำแห้งแบบพ่นฝอย หลังจากกระบวนการนี้แล้วจึงได้ Instant Coffee
๙. การผสม หลังจากการทำแห้งเรียบร้อยแล้ว นำ Instant Coffee มาผสมกับวัตถุดิบ คือครีมเทียมชนิดผง และน้ำตาลทราย มาผสมตามอัตราส่วนที่กำหนด โดยผสมในเครื่องผสม ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ และสังเกตว่าเข้ากันดีหรือไม่
๑๐. การบรรจุ หลังจากการผสม นำวัตถุดิบที่ผสมไว้เรียบร้อยแล้วมาเข้าเครื่องบรรจุแบบอัตโนมัติ 
โดยต้องตรวจเช็คปริมาณน้ำหนักและรสชาติให้ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้ เมื่อได้กาแฟผงสำเร็จรูป
ชนิดผงก็จะนำเข้าสู่กระบวนการบรรจุภัณฑ์ โดยใช้เครื่องมือในการบรรจุภัณฑ์ หลังจากนั้นก็จะ
ทำการลงหีบห่อ
ที่มา   http://www.otoptoday.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น