วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันวิชาการ

วันวิชาการ
28กุมภาพันธ์ 2560
ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป

เราได้ประจำอยู่ที่ซุ้มสาระแนะเเนว กับเพื่อนอีก 2 คน กิจกรรมในบู๊ท ก็มีการเเนะนำการเรียนต่อสายสามัญเเละสายอาชีพ แนะนำอาชีพในอนาคต และ ให้น้องได้ร่วมเล่มเกม xo เพื่อชิงของรางวัล


 https://www.facebook.com/100003483707612/videos/1155090244617088/
https://www.facebook.com/100003483707612/videos/1155087677950678/


ในภาพอาจจะมี ห้องรับแขก, ตาราง และ สถานที่ในร่ม


ในภาพอาจจะมี 1 คน

ในภาพอาจจะมี 16 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังนั่ง
ในภาพอาจจะมี 8 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังนั่ง และ สถานที่ในร่ม


ในภาพอาจจะมี 2 คน, ผู้คนกำลังนั่ง
ในภาพอาจจะมี 12 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนอยู่บนเวที และ ผู้คนกำลังยืน
ในภาพอาจจะมี 7 คน, คนที่ยิ้ม

    ภายในงานนั้นมีทั้งความรู้ ความสนุก และของขาย ของเเจกฟรีมากมาย มีดนตรี มีกิจกรรมให้นักเรียนได้แสดงความสามารถของตัวเอง

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ผลิตภัณฑ์จากดีบุก

ผลิตภัณฑ์

ประวัติความเป็นมา

เริ่มดำเนินกิจการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ จากแนวคิดที่คนในครอบครัวมีความรู้เรื่องการสลักดุน จึงคิดประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดประโยชน์และเกิดรายได้ ระยะแรกมีเพียงผลิตภัณฑ์พวงกุญแจเท่านั้น ต่อมามีการพัฒนาฝีมือและเพิ่มลวดลายที่เป็นลายไทย รูปช้าง ศิลปะพื้นบ้าน ลงบนผลิตภัณฑ์ เช่น พวงกุญแจลายช้าง แจกัน แก้วเบียร์ จานโชว์ หัวเข็มขัด เป็นต้น

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ

มาตรฐานมผช.เลขที่ ๗๒/๒๕๔๖

ความสัมพันธ์กับชุมชน

แรงงานในการผลิตเป็นคนในหมู่บ้าน และให้โอกาสผู้ที่สนใจมาศึกษาดูงาน
กระบวนการผลิต
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
๒.๑.๑ แร่ดีบุก 
๒.๑.๒ โลหะ เรซิ่น 
๒.๑.๓ เทียน
๒.๑.๔ สี

ขั้นตอนการผลิต

๒.๒.๑ ออกแบบผลิตภัณฑ์
๒.๒.๒ หล่อต้นแบบด้วยเทียน โลหะ เรซิ่น
๒.๒.๓ หล่อแบบ
๒.๒.๔ กลึงผิวให้เรียบและสวยงาม
๒.๒.๕ ย้อมสี เคลือบผิว

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

ต้องกลึงผิวชิ้นงานให้เรียบที่สุดเพื่อความสวยงามและง่ายในการลงลาย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผลิตภัณฑ์จากดีบุก
ที่มา    http://www.otoptoday.com/

กะลามะพร้าวบ้านโป่งสวอง

ผลิตภัณฑ์

ประวัติความเป็นมา

มะพร้าวที่ปลูกไว้แทบทุกบ้าน มีเกินบริโภคในครัวเรือน บางครั้งไม่มีคนรับซื้อ หรือขายไม่ค่อยได้ราคา เลยนำกะลามาแปรรูปทำเป็นรูปสัตว์ตัวเล็ก ๆ แล้วพัฒนาเป็นรูปสัตว์ตัวใหญ่ๆ ตามแบบต่างๆ และเจาะรูเอาเนื้อออกเพื่อทำเป็นออมสินไว้ใช้และเอาแลคทาเพื่อความเงาสวยงามและอยู่ได้นานและนำไปขายเพื่อเพิ่มมูลค่าของกะลามะพร้าว ต่อมาก็พัฒนาทำรูปแบบต่างๆ ขึ้น เช่น โคมไฟ ออมสินรูปสัตว์ ฯลฯ

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

ความสัมพันธ์กับชุมชน

มะพร้าวที่มีอยู่ทั่วไปของแต่ละบ้านที่งอกแล้วขายไม่ได้หรือที่ไม่มีน้ำ ไม่มีเนื้อ ก็จะไปรับซื้อมา เพื่อเอามาทำเป็นกะลาออมสิน ส่วนคนที่ว่างจากการทำไร่ ชาวบ้านที่ไม่มีงานทำ หรือบางคนว่างงาน ก็จะมารับจ้างช่วยปลอกมะพร้าว มารับจ้างเอาเนื้ออก มาช่วยขัดช่วยทำ ก็จะมีรายได้เสริม บางคนส่งลูกหลานไปโรงเรียนเสร็จก็จะมาทำช่วยทำให้คนสูงอายุมีรายได้เพิ่มเป็นค่ากับข้าวแต่ละวันได้

กระบวนการผลิต

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. เครื่องตัดจิ๊กซอ
2. เครื่องขัดละเอียด
3. เครื่องขัดหยาบ
4. เลื่อยวงเดือน
5. มะพร้าว (วัตถุดิบสำคัญ)
6. ลูกตาลสีดำที่เอาเนื้อทำขนมแล้ว
7. กาวร้อนอย่างดี
8. ขี้เลื่อย
9. เม็ดมะค่า
10. กระดาษทรายด้วย
11. ของตกแต่งทั่วไป ลูกตาแบบต่างๆ

ขั้นตอนการผลิต

1. นำมะพร้าวมาปลอกเปลือก แล้วใช้เครื่องเจาะเพื่อเอาน้ำออกให้หมดเกลี้ยง
2. เอามะพร้าวที่เอาน้ำและเนื้อออกหมดมาขัดด้วยเครื่องขัดหยาบและเครื่องขัดละเอียด
3. ขัดเสร็จแล้วก็นำมาประกอบเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ตามแบบที่เราจะทำโดยเราเอากะลามาทำเป็นใบหู หาง เขา ฯลฯ (โดยใช้เครื่องจิ๊กซอตัดเป็นส่วนประกอบ)

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

เทคนิคคือ เราทำเสร็จก็ทาแลคเกอร์เคลือบเงา เพื่อความสวยงาม และอยู่ได้นาน ก็จะทำประมาณ 2-3 รอบ ส่วนเคล็ดลับคือ ช่วงต่อใช้ขี้เลื่อยที่เป็นผงจากการเลื่อยไม้หรือผงละเอียดจากการขัดกะลาเอามาร่อนแล้วใช้เป็นตัวประสานในการเชื่อมต่อเพื่อให้ตัวสินค้าติดกันแน่นและเป็นเนื้อเดียวกัน คงทนโดยใช้กาวร้อนอย่างดีและจะเช็ดทำความสะอาดทุกตัวโดยสำรวจว่าไม่มีส่วนไหนชำรุดหรือทาแลคเกอร์ไม่สวย รอจนแห้งสนิท ถ้าเช็คดูว่าครบทุกส่วนแล้วก็จะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อทีละตัวเบื่อนำไปขายหรือส่งให้กับลูกค้าที่สั่งทำไว้
ที่มา  http://www.otoptoday.com/

เครื่องเบญจรงค์

ผลิตภัณฑ์

ประวัติความเป็นมา

เครื่องเบญจรงค์มีปรากฎตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์มีการออกแบบและใช้สีที่เป็นที่นิยมของผู้คนสมัยนั้น ซึ่งมีใช้แต่ในราชสำนักเท่านั้น แต่ต่อมาเสนาบดี คหบดี ได้นำมาใช้กันจนเป็นที่แพร่หลายสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยได้รับการถ่ายทอดวิชาการทำเครื่องเบญจรงค์จากบรรพบุรุษของครอบครัวที่ จังหวัดสุพรรณบุรี ซี่งก็ได้นำมาฝึกฝนทำมาจนถึงปัจจุบันและได้คิดค้นลายเบญจรงค์ใหม่ๆทันสมัยเป็นที่นิยมของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

 มีเอกลักษณ์ที่เป็นศิลปะไทย ประเพณี การละเล่นของไทย

กระบวนการผลิต

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

- วัตถุดิบเครื่องปั้นดินเผาภาชนะต่างๆ จากสมุทรสาครและกทม.
- สีที่ใช้ลงเครื่องปั้นดินเผา
- เตาเผาความร้อน

ขั้นตอนการผลิต

1. นำเครื่องปั้นดินเผารูปภาชนะต่างๆ มาเขียนลายที่ต้องการ
2. ลงสีบนภาชนะที่เขียนลายไว้แล้ว
3. เสร็จจาก 1,2 นำภาชนะไปวนน้ำทอง
4. นำภาชนะเข้าเตาเผา ใช้ความร้อน 820 องศา ใช้เวลา 5 ชั่วโมง
5. นำภาชนะออกจากเตาเผาทิ้งไว้ให้เย็น นำออกจำหน่าย

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

ใช้ความประณีต ใช้หัวใจในการเขียนลายที่เป็นจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ออกมาสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด
ที่มา  http://www.otoptoday.com/

กาแฟกระบี่

ความสัมพันธ์กับชุมชน

ใช้ทุนชุมชน มาจากการระดมหุ้นจากสมาชิก จำนวน ๑๓๔ คน เป็นเงินทั้งสิ้น๑,๑๙๒,๕๐๐ บาท
บริหารงานโดยคณะกรรมการซึ่งมาจากการเลือกของสมาชิก ใช้วัตถุดิบ คือเมล็ดกาแฟดิบที่ผลิตในพื้นที่ ใช้แรงงานในพื้นที่ (แรงงานมาจากคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่ม)

กระบวนการผลิต วัตถุดิบและ ส่วนประกอบ

๑. เม็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้า 
๒. ครีมเทียมชนิดผง 
๓. น้ำตาลทราย

ขั้นตอนการผลิต

๑. การเตรียมวัตถุดิบ
- เริ่มต้นจากการคัดเลือกเมล็ดกาแฟ โดยการเทลงในภาชนะบรรจุน้ำ คัดเมล็ดกาแฟที่ลอยน้ำทิ้ง 
เนื่องจากเป็นผลที่สุกเกินไป ผลแห้งหรือผลที่ถูกแมลงทำลาย จากนั้นนำผลกาแฟที่จมน้ำไปตาก
บนลานซีเมนต์หรือในถาด การตากนั้นไม่ควรให้ความหนาของชั้นกาแฟมีความหนาเกิน ๓ 
เซนติเมตร และกลับเป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันการหมักและสีของเมล็ดกาแฟไม่สม่ำเสมอ

- การกะเทาะเปลือก (Hulling) ผลกาแฟที่แห้งจะถูกกะเทาะเปลือกเพื่อเอาส่วนที่เรียกว่า Pericarb
ออกโดยการใช้เครื่องกะเทาะเปลือก ซึ่งเครื่องกะเทาะเปลือกจะใช้สกรูเป็นองค์ประกอบหลักใน การทำให้เปลือกส่วน Pericarb หลุดออก
๒. การทำความสะอาด เริ่มจากการนำเมล็ดกาแฟที่ได้กะเทาะเปลือกแล้วไปทำความสะอาดโดยการใช้ลมเป่า จากนั้นจึงนำไปร่อนตะแกรงเพื่อกำจัดสิ่งที่ปะปนมา เช่น เปลือกกาแฟ เศษหิน กิ่งไม้ เศษกระสอบ และอื่น ๆ ที่ติดปนมากับเมล็ดกาแฟ
๓. การคัดเลือก กาแฟจะถูกคัดเกรดตามขนาด รูปร่าง กลิ่น ความหนาแน่นและสี
๔. การคั่ว การคั่วเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการผลิตกาแฟ โดยกลิ่นรสสุดท้ายของกาแฟจะขึ้นกับวิธีการและสภาวะที่ใช้คั่ว โดยอุณหภูมิที่ใช้คั่วกาแฟอยู่ที่ประมาณ ๒๐๐ องศาเซลเซียส
๕ การบด (Grinding) การบดเมล็ดกาแฟให้เป็นผงโดยใช้เครื่องจักร ควรเลือกสถานที่ที่ยกออกมาจากการผลิตทั่วไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก เนื่องจากในกระบวนการบดกาแฟจะเกิดฝุ่นละออง
มาก ขณะทำการบด
๖. การสกัด หลังจากบดกาแฟเรียบร้อยแล้ว กาแฟจะถูกผ่านเข้าสู่ภาชนะที่ควบคุมอุณหภูมิรูปทรงกลมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสารละลายกาแฟมีความเข้มข้นประมาณ ๑๕-๑๕ % 
๗. การระเหยน้ำ เป็นการสกัดความชื้นของเมล็ดกาแฟ โดยการปรับอุณหภูมิของตัวเครื่อง เพื่อให้ ความร้อนระเยออกมาเป็นไอ สกัดความชื้นให้เมล็ดกาแฟแห้ง 
๘. การทำให้แห้ง จากนั้นนำสารละลายเข้มข้นมาทำให้แห้งโดยใช้เครื่องทำแห้งแบบพ่นฝอย กาแฟโรบัสต้า จะใช้วิธีการทำแห้งแบบพ่นฝอย หลังจากกระบวนการนี้แล้วจึงได้ Instant Coffee
๙. การผสม หลังจากการทำแห้งเรียบร้อยแล้ว นำ Instant Coffee มาผสมกับวัตถุดิบ คือครีมเทียมชนิดผง และน้ำตาลทราย มาผสมตามอัตราส่วนที่กำหนด โดยผสมในเครื่องผสม ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ และสังเกตว่าเข้ากันดีหรือไม่
๑๐. การบรรจุ หลังจากการผสม นำวัตถุดิบที่ผสมไว้เรียบร้อยแล้วมาเข้าเครื่องบรรจุแบบอัตโนมัติ 
โดยต้องตรวจเช็คปริมาณน้ำหนักและรสชาติให้ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้ เมื่อได้กาแฟผงสำเร็จรูป
ชนิดผงก็จะนำเข้าสู่กระบวนการบรรจุภัณฑ์ โดยใช้เครื่องมือในการบรรจุภัณฑ์ หลังจากนั้นก็จะ
ทำการลงหีบห่อ
ที่มา   http://www.otoptoday.com/

ผ้าคลุมผมสตรีมุสลิม

ผลิตภัณฑ์

ประวัติความเป็นมา

เย็บปักและตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นชื่อกลุ่มผู้ผลิตชุมชนที่ออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายและผ้าคลุมผมที่นำเอาความสวยงามของวัตถุดิบต่างๆ มาพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์มีความสวยงามโดย นางชะบา ไกรบุตร ได้ริเริ่มก่อตั้งกลุ่มโดยเริ่มแรกมีผู้เข้าร่วมจำนวน 14 คน ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2541 โดยเป็นการรวมตัวของสตรีและ อ.ส.ม. ในหมู่ 7 ต.เหนือคลอง อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ ในปี พ.ศ. 2549 ทางกลุ่มได้รับเงินงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลเหนือคลองจำนวน 35,000 บาท เพื่อจัดซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2551 เครื่องมือที่ใช้ไม่พอเพียงกับความต้องการของการผลิต จึงขอรับการอนุเคราะห์จากองค์การบริหารส่วนตำบลเหนือคลองอีก 75,000 บาทเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตของกลุ่มให้ดียิ่งขึ้น ด้วยแรงผลักดันของนางชะบา ไกรบุตร ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่ต้องการสร้างงานในชุมชนเพื่อการหารายได้เสริมให้กับสมาชิกในชุมชนตลอดจนให้มีความรักสามัคคีเกิดขึ้นในชุมชน ที่สำคัญกลุ่มสมาชิกส่วนใหญ่เกิดความชื่นชอบและมองเห็นความสวยงามของเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ได้รับการตกแต่งและสามารถก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มตลอดจนรายได้เข้าสู่ชุมชน
ที่มา  http://www.otoptoday.com/

กลุ่มตัดเย็บเครื่องแต่งกาย เสื้อยืดสำเร็จรูปปักเลื่อมลูกปัด

ผลิตภัณฑ์

ประวัติความเป็นมา

กลุ่มตัดเย็บเครื่องแต่งกาย เสื้อยืดสำเร็จรูปปักเลื่อมลูกปัด ตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ ๕ หมู่ ๙ ตำบลสระสี่มุม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ก่อตั้งขึ้นโดยนางอุบล สระทองอยู่ เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดในการตัดเย็บเสื้อผ้า ได้ดำเนินการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยเริ่มจากการตัดเย็บเสื้อยืดเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ภายในหมู่บ้าน จัดส่งขายตามตลาดทั่ว ๆ ไป จากนั้นก็เริ่มมีการผลิตเป็นสินค้าส่งออกกระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต พัทยา ฯลฯ จนเป็นที่นิยมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เนื่องจากเสื้อยืดมีลักษณะที่โดดเด่น คือ มีการพิมพ์ลายไทยลงบนผ้า และมีการปักเลื่อมด้วยลูกปัด ซึ่งจัดเป็นงานฝีมือของชาวบ้าน ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้กิจการของกลุ่มค่อย ๆ ขยายขึ้นเรื่อย ๆ และเริ่มมีการกระจายงานให้ชาวบ้านที่อยู่ตามหมู่บ้านอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน
ปัจจุบัน กลุ่มตัดเย็บเครื่องแต่งกาย เสื้อยืดสำเร็จรูปปักเลื่อมลูกปัด ได้มีการขยายตลาดการค้าทั้งในประเทศ และเป็นสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยทางกลุ่มมีลายพิมพ์แบบต่าง ๆ ที่ใช้ในการพิมพ์ประมาณ ๑,๔๐๐ แบบ และมีการพัฒนาลายพิมพ์แบบต่าง ๆ ออกมาสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของแฟชั่น

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

ความสัมพันธ์กับชุมชน

งานฝีมือ และแรงงาน คือคนในชุมชนอย่างแท้จริง ทำให้คนในชุมชนมีรายได้หลัก และรายได้เสริมจากการประกอบอาชีพ รวมถึงทำให้คนในชุมชนมีความสามัคคี และความร่วมมือกันในการทำงาน มีความรัก ความผูกพันกันเหมือนญาติพี่น้อง
ที่มา  http://www.otoptoday.com/