วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กระติบข้าวทรีอินวันบ้านท่างาม

ประวัติความเป็นมา

ณ ดินแดนพื้นที่ราบสูงของประเทศที่มีผู้คนอาศัยส่วนใหญ่เป็นชาวอีสาน ทานข้าวเหนียวและมี กล่องข้าวเหนียวเป็นภาชนะไว้ใส่ข้าวเหนียวมาเนิ่นนาน ถือว่าเป็นวิถีชีวิตของคนอีสานที่ต้องห่อข้าวเหนียว เก็บไว้ทาน ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือห่อข้าวไปทำงาน การทำกล่องข้าวหรือกระติบข้าวมีมานาน ส่วนใหญ่เป็นการ ทำจสานจากไม้ไผ่ ฯลฯ ซึ่งกระติบข้าวที่ทำมาจากไม้ไผ่จะเกิดเชื้อราได้ง่าย แต่คล้ามีความทนทาน และเมื่อถูกความชื้นจะไม่เป็นเชื้อราดำ เก็บความร้อนได้นานกว่า 
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตกรรมบ้านท่างาม จัดตั้งเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2546 มีสมาชิกเริ่มแรกจำนวน 15 คน ปัจจุบันมีสมาชิก 56 คน ประธานกลุ่มคนแรกคือ นางศิริพร สายยางหล่อ และประธาน กลุ่มคนปัจจุบัน คือ นางประณีต หนูท้าว ตั้งอยู่เลขที่ 56 ม.9 ต.ทรายทอง อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู โดยที่กระติบข้าวทรีอินวันเริ่มจากจักสานที่เปลี่ยนจากการใช้ไม้ไผ่มาเป็นคล้าเนื่องจาก ไม้ไผ่เกิดเชื้อราง่าย แต่คล้ามีความทนทาน และเมื่อถูกความชื้นจะเป็นเชื้อราดำ เก็บความร้อนได้นานกว่า และกระติบข้าวทรีอินวันจะเกิดจากวิถีชีวิตการทานข้าวเหนียวและเป็นการยุ่งยากในการจะนึ่งข้าวเหนียวสำหรับคนที่อยู่ในเมือง ซึ่งคนไทยภาคอีสานได้มีการกระจายอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ รวมถึงต่างประเทศด้วย แต่วัฒนธรรมการกินยังไม่ลืมข้าวเหนียว จึงได้เกิดการพัฒนากระติบข้าวที่เป็นเพียงอุปกรณ์ที่ใช้บรรจุข้าวเหนียว ให้เป็นอุปกรณ์สารพัดประโยชน์ ใช้นึ่งข้าวใช้คนข้าว(ส่ายข้าวในภาษาอีสาน)และบรรจุข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว ในใบเดียว ซึ่งสามารถนึ่งได้ในหม้อหุงข้าวไฟฟ้าในบ้าน ที่ทั้งง่ายสะดวกสบาย และสร้างงานสร้างรายได้ให้คนในชุมชนได้ตลอดปี
และในปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่ของภาคอีสานได้เดินทางออกไปทำงานต่างจังหวัดและต่างประเทศจำนวนมาก แต่วัฒนธรรมการกินยังไม่ลืมข้าวเหนียว และอีกประการหนึ่งคือข้าวเหนียวเป็นที่นิยมในหมู่คนทั่วไปนำมาทานกับส้มตำไก่ย่าง อีกทั้งในกระบวนการนึ่งข้าวสำหรับคนที่ต้องไปใช้ชีวิตในห้องเช่าเป็นเรื่อง ที่ยุ่งยาก ในเรื่องของวิธีการและในเรื่องของอุปกรณ์การนึ่งที่ยุ่งยากในการนึ่งและเก็บรักษาอุปกรณ์
ต่าง ๆ และวัตถุดิบต้นคล้าในหมู่บ้านมีจำนวนมาก คนในหมู่บ้านเริ่มเห็นคุณค่าและความสำคัญของการสานกระติบข้าวคล้า ได้หันเข้ามาให้การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาอาชีพ การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เพื่อสร้างความแข้งแข็งแก่หมู่บ้านและชุมชนให้มีความพออยู่พอกินทุกครอบครัว
ในปี 2555 คณะกรรมการเครือข่าย KBO จังหวัด ซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภูเป็นเลขาคณะทำงาน ได้มองถึงการพัฒนากระติบข้าวที่เป็นเพียงอุปกรณ์ที่บรรจุข้าวเหนียว ให้เป็นอุปกรณ์สารพัดประโยชน์ ใช้นึ่งข้าว ใช้คนข้าว(ส่ายข้าว ในภาษาอีสาน)และบรรจุข้าวเหนียวที่สุกแล้ว ในใบเดียว ที่ใครๆก็สามารถนึ่งทานได้เอง โดยใช้นึ่งกับหม้อหุงข้าวไฟฟ้าในบ้านได้เลย ซึ่งได้มีการสืบค้นข้อมูล และเอกสารการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระติบข้าวเหนียวที่เกี่ยวข้อง จนเกิดความมั่นใจและลงมือทดลองและพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระติบข้าว

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

ความสัมพันธ์กับชุมชน

ฝีมือ แรงงาน คือ คนในชุมชนอย่างแท้จริง ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้คนในชุมชน
มีความผูกพันกันเหมือนญาติพี่น้อง มีการรวมกลุ่มสมาชิกในหมู่บ้าน ตำบล ร่วมกันนำเอาวัตถุดิบ
ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นนั้น รวมทั้งยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแก่คนในชุมชน 
รู้จักรักและหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น อีกทั้งส่งเสริมรายได้ให้แก่ชุมชน หมู่บ้าน 
มีอาชีพมั่นคง ครอบครัวอบอุ่น โดยไม่ต้องเดินทางเข้ามาทำงานในเมืองหลวง 
การร่วมแรงร่วมใจกันของชาวบ้าน
ที่มา  http://www.otoptoday.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น