วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กะลามะพร้าวบ้านโป่งสวอง

ผลิตภัณฑ์

ประวัติความเป็นมา

มะพร้าวที่ปลูกไว้แทบทุกบ้าน มีเกินบริโภคในครัวเรือน บางครั้งไม่มีคนรับซื้อ หรือขายไม่ค่อยได้ราคา เลยนำกะลามาแปรรูปทำเป็นรูปสัตว์ตัวเล็ก ๆ แล้วพัฒนาเป็นรูปสัตว์ตัวใหญ่ๆ ตามแบบต่างๆ และเจาะรูเอาเนื้อออกเพื่อทำเป็นออมสินไว้ใช้และเอาแลคทาเพื่อความเงาสวยงามและอยู่ได้นานและนำไปขายเพื่อเพิ่มมูลค่าของกะลามะพร้าว ต่อมาก็พัฒนาทำรูปแบบต่างๆ ขึ้น เช่น โคมไฟ ออมสินรูปสัตว์ ฯลฯ

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

ความสัมพันธ์กับชุมชน

มะพร้าวที่มีอยู่ทั่วไปของแต่ละบ้านที่งอกแล้วขายไม่ได้หรือที่ไม่มีน้ำ ไม่มีเนื้อ ก็จะไปรับซื้อมา เพื่อเอามาทำเป็นกะลาออมสิน ส่วนคนที่ว่างจากการทำไร่ ชาวบ้านที่ไม่มีงานทำ หรือบางคนว่างงาน ก็จะมารับจ้างช่วยปลอกมะพร้าว มารับจ้างเอาเนื้ออก มาช่วยขัดช่วยทำ ก็จะมีรายได้เสริม บางคนส่งลูกหลานไปโรงเรียนเสร็จก็จะมาทำช่วยทำให้คนสูงอายุมีรายได้เพิ่มเป็นค่ากับข้าวแต่ละวันได้

กระบวนการผลิต

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. เครื่องตัดจิ๊กซอ
2. เครื่องขัดละเอียด
3. เครื่องขัดหยาบ
4. เลื่อยวงเดือน
5. มะพร้าว (วัตถุดิบสำคัญ)
6. ลูกตาลสีดำที่เอาเนื้อทำขนมแล้ว
7. กาวร้อนอย่างดี
8. ขี้เลื่อย
9. เม็ดมะค่า
10. กระดาษทรายด้วย
11. ของตกแต่งทั่วไป ลูกตาแบบต่างๆ

ขั้นตอนการผลิต

1. นำมะพร้าวมาปลอกเปลือก แล้วใช้เครื่องเจาะเพื่อเอาน้ำออกให้หมดเกลี้ยง
2. เอามะพร้าวที่เอาน้ำและเนื้อออกหมดมาขัดด้วยเครื่องขัดหยาบและเครื่องขัดละเอียด
3. ขัดเสร็จแล้วก็นำมาประกอบเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ตามแบบที่เราจะทำโดยเราเอากะลามาทำเป็นใบหู หาง เขา ฯลฯ (โดยใช้เครื่องจิ๊กซอตัดเป็นส่วนประกอบ)

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

เทคนิคคือ เราทำเสร็จก็ทาแลคเกอร์เคลือบเงา เพื่อความสวยงาม และอยู่ได้นาน ก็จะทำประมาณ 2-3 รอบ ส่วนเคล็ดลับคือ ช่วงต่อใช้ขี้เลื่อยที่เป็นผงจากการเลื่อยไม้หรือผงละเอียดจากการขัดกะลาเอามาร่อนแล้วใช้เป็นตัวประสานในการเชื่อมต่อเพื่อให้ตัวสินค้าติดกันแน่นและเป็นเนื้อเดียวกัน คงทนโดยใช้กาวร้อนอย่างดีและจะเช็ดทำความสะอาดทุกตัวโดยสำรวจว่าไม่มีส่วนไหนชำรุดหรือทาแลคเกอร์ไม่สวย รอจนแห้งสนิท ถ้าเช็คดูว่าครบทุกส่วนแล้วก็จะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อทีละตัวเบื่อนำไปขายหรือส่งให้กับลูกค้าที่สั่งทำไว้
ที่มา  http://www.otoptoday.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น